เมนู

[890] หญิง 4 คนเห็นนรชนผู้ประเสริฐ แม้
อย่างนี้แล้ว ชักนำด้วยวาจาอ่อนหวาน เหมือน
นางแมวชักนำไก่ ฉะนั้น.
[891] ก็ผู้ใดรู้ไม่เท่าทัน เหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับ-
พลัน ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรู และ
เดือดร้อนภายหลัง.
[892] ส่วนผู้ใดรู้ทันเหตุที่เกิดขึ้น โดยฉับพลัน
ผู้นั้นจะพ้นจากเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่
พ้นจากนางแมว ฉะนั้น.

จบ กุกกุฏชาดกที่ 8

อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ 8



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ
ผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สุจิตฺตปตฺตจฺฉาทน
ดังนี้
ความย่อว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า เหตุไฉน ? เธอ
จึงกระสันอยากสึก. เมื่อเธอทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
เห็นหญิงคนหนึ่ง ผู้ประดับประดาตกแต่งตัวแล้ว จึงกระสันอยากสึก

ด้วยอำนาจกิเลสดังนี้. แล้วตรัสว่า ธรรมดาผู้หญิงลวงให้ชายลุ่มหลง
แล้วให้ถึงความพินาศ ในเวลาชายตกอยู่ในอำนาจของตนเป็นเหมือน
แมวตัวเหลวไหล แล้วได้ทรงนิ่ง. เมื่อถูกภิกษุนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรง
นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดไก่ในป่า มีไก่หลายร้อยตัวเป็น
บริวารอยู่ในป่า. ฝ่ายนางแมวตัวหนึ่ง ก็อาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลพระโพธิ-
สัตว์นั้น. มันใช้อุบายลวงกินไก่ที่เหลือ เว้นแต่ไก่โพธิสัตว์. พระโพธิ-
สัตว์ไม่ไปสู่ป่าชัฏของมัน. มันคิดว่า ไก่ตัวนี้อวดดีเหลือเกิน ไม่รู้ว่าเรา
เป็นผู้โอ้อวด และเป็นผู้ฉลาดในอุบาย เราควรจะเล้าโลมไก่ตัวนี้ว่า
จักเป็นภรรยาของมัน แล้วกินในเวลามันตกอยู่ในอำนาจของตน. มัน
จึงไปยังควงไม้ที่ไก่นั้นเกาะอยู่ เมื่อขอร้องไก่นั้นด้วยวาจา ที่มีภาษิต
สรรเสริญนำหน้า จึงได้กล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-
ดูก่อนพ่อนกน้อยสีแดง ผู้ปกคลุมด้วย
ขนที่สวยงาม เจ้าจงลงมาจากกิ่งไม้เถิด เรา
จะเป็นภรรยาของท่านเปล่า ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจิตฺตปตฺตจฺฉาทน ความว่า ผู้
มีเครื่องห่อหุ้มที่ทำด้วยขนอันสวยงาม. บทว่า มุธา ความว่า เราจะ
เป็นภรรยาของท่าน โดยปราศจากมูลค่า คือโดยไม่รับเอาอะไรเลย.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า แมวตัวนี้กัดกินญาติของ
เราหมดไปแล้ว บัดนี้มันประสงค์จะล่อลวงกินเรา. เราจักขับส่งมันไป
แล้วกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
เจ้าเป็นสัตว์ 4 เท่าที่สวยงาม ส่วนฉัน
เป็นสัตว์ 2 เท้า เนื้อกับนกจะร่วมกันไม่ได้ใน
อารมณ์ เป็นที่รื่นรมย์ใจ เจ้าจงไปแสวงหาผู้
อื่นเป็นสามีเถิด.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นต่อไป พระโพธิสัตว์ กล่าวว่า มิคี
หมายเอาแมว. ด้วยบทว่า อสํยุตฺตา พระโพธิสัตว์แสดงว่าแมวกับไก่
ร่วมกันไม่ได้สัมพันธ์กันไม่ได้ เพื่อเป็นผัวเมียกัน สัตว์ทั้ง 2 เหล่านั้น
ไม่มีความสัมพันธ์เช่นนี้.
นางแมวนั้น ได้ฟังคำนั้นแล้ว ลำดับนั้น จึงคิดว่า ไก่ตัวนี้
โอ้อวดเหลือเกิน เราจักใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งลวงกินมันให้ได้. แล้ว
ได้กล่าวคาถาที่ 3 ว่า :-
ฉันจักเป็นภรรยาสาวผู้สวยงาม ร้องไพ-
เราะเพื่อคุณ คุณจะพบฉัน ผู้เป็นพรหมจารินี
ที่สวยงาม ด้วยการเสวยอารมณ์อย่างดี คือ
สุขเวทนา.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ด้วยบทว่า โกมาริกา นางแมว
กล่าวว่า ฉันไม่รู้จัก ชายอื่นตลอดเวลานี้ ฉันจักเป็นภรรยาสาวของคุณ.
บทว่า มญฺชุกา ปิยภาณินี ความว่า เราจักเป็นผู้มีถ้อยคำไพเราะ
พูดคำน่ารักเป็นปกติ ต่อคุณที่เดียว. บทว่า วินฺท มํ ความว่า คุณจะ
กลับได้ฉัน. บทว่า อริเยน เวเทน ความว่า ด้วยการกลับได้ที่ดี.
นางแมวพูดว่า เพราะว่าฉันเองก่อนแต่นี้ไม่รู้จักสัมผัสตัวผู้ ถึงคุณก็ยัง
ไม่รู้จักการสัมผัสตัวเมีย ฉะนั้น คุณจะได้ฉันผู้เป็นพรหมจารินีตามปกติ
ด้วยการได้ที่ไม่มีโทษ คุณต้องการฉัน ถ้าไม่เชื่อถ้อยคำของฉันก็ให้ตี
กลองประกาศในนครพาราณสีชั่ว 12 โยชน์ว่า นางแมวนี้เป็นทาสของ
ฉัน คุณจงรับฉันให้เป็นทาสของตนเถิด.
พระโพธิสัตว์ได้ยินคำนั้นแล้ว ถัดนั้นไปก็คิดว่า ควรที่เราจะขู่
แมวตัวนี้ให้หนีไปเสีย แล้วจึงกล่าวคาถาที่ 4 ว่า :-
ดูก่อนเจ้าผู้กินซากศพ ผู้ดื่มโลหิต ผู้
เป็นโจรปล้นไก่ เจ้าไม่ต้องการให้ฉันเป็นผัว
ด้วยการเสวยอารมณ์ที่ดี คือสุขเวทนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตวํ อริเยน ความว่า พระ
โพธิสัตว์ กล่าวว่า เจ้าไม่ประสงค์ให้ข้าเป็นผัว ด้วยลาภที่ประเสริฐ
คือการอยู่ประพฤติเหมือนพรหม แต่เจ้าต้องการลวงกินฉัน. ดูก่อนเจ้า

ผู้ลามก เจ้าจงฉิบหาย ดังนี้แล้ว ให้แมวนั้นหนีไปแล้ว.
ส่วนแมวนั้นหนีไปแล้ว ไม่อาจแม้เพื่อจะมองดูอีก เพราะฉะนั้น
พระศาสดา จึงได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ ว่า :-
หญิง 4 คนเห็นนรชนผู้ประเสริฐ แม้
อย่างนี้แล้ว ชักนำด้วยวาจาอ่อนหวาน เหมือน
นางแมวชักนำไก่ ฉะนั้น. ก็ผู้ใดรู้ไม่เท่าทัน
เหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นจะตกอยู่ใน
อำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง.
ส่วนผู้ใดรู้ทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน. ผู้นั้น
จะพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่
พ้นจากนางแมว ฉะนั้น.

คาถาเหล่านี้ เป็นพระคาถาของท่านผู้รู้ยิ่งแล้ว คือคาถาของ
ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุรา คือผู้ประกอบหญิงจำนวน
4 คน. บทว่า นารี ได้แก่ หญิงทั้งหลาย. บทว่า เนนฺติ ความว่า
นำเข้าไปสู่อำนาจของตน. บทว่า วิลารี วิย ความว่า นางแมวนั้น
พยายามชักนำไก่นั้น ฉันใด หญิงเหล่าอื่น ก็ชักนำภิกษุนั้น ฉันนั้น

เหมือนกัน. บทว่า อุปฺปติตํ อตฺถํ ความว่า เหตุการณ์บางอย่าง
นั่นเอง ที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า น พุชฺฌติ ความว่า ไม่รู้ตามภาพ
ความจริง และจะเดือดร้อนภายหลัง. บทว่า กุกฺกุโฏว มีเนื้อความว่า
ภิกษุนั้น พ้นจากการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่ตัวที่ถึงพร้อมด้วย
ความรู้ พ้นจากแมวฉะนั้น.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรมประมวลชาดกไว้. ในที่สุดแห่งสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก ตั้ง
อยู่แล้วในโสดาปัตติผล ก็พระยาไก่ในครั้งนั้น ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้
แล.
จบ อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ 8

9. ธัมมัทธชชาดก



ว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง



[893] ดูก่อนญาติทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพา
กันประพฤติธรรม เธอทั้งหลายจงพากันประ-
พฤติธรรม ความเจริญจักมีแก่พวกเธอ เพราะ
ว่า มีผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งใน
โลกนี้และโลกหน้า.
[894] จำเริญหนอนกตัวนี้ นกผู้ประพฤติธรรม
ยืนขาเดียว พร่ำสอนธรรมอย่างเดียว.
[895] กาตัวนั้นไม่มีศีล สูเจ้าทั้งหลาย จงรู้ไว้
เถิด เพราะไม่รู้จึงพากันสรรเสริญมัน มันกิน
ทั้งไข่ทั้งลูกอ่อน แล้วพูดว่าธรรม ๆ.
[896] มันพูดอย่างหนึ่งด้วยวาจา แต่ทำอย่าง
หนึ่งด้วยกาย พูดแต่ปากไม่ทำด้วยกาย ไม่ตั้ง
อยู่ในธรรมนั้น.
[897] มันเป็นผู้อ่อนหวานทางวาจา แต่เป็นผู้มี
ใจร้ายกาจ คือปากปราศรัยแต่หัวใจเชือดคอ